เมนู

ถึง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายจากวาโยธาตุ ดังนี้.
จบทุกขสูตรที่ 5

อรรถกถาทุกขสูตรที่ 5



พึงทราบวินิจฉัยในทุกขสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้.
บทว่า เอกนฺตทุกฺขา ความว่า ทุกข์โดยส่วนเดียว เหมือนคน
เดินไปแล้วหยุดอยู่เกิดความร้อนฉะนั้น. บทว่า ทุกฺขานุปติตา ได้แก่ อัน
ทุกข์ติดตาม. บทว่า ทุกฺขาวกฺกนฺตา ได้แก่ อันทุกข์ก้าวลง มีทุกข์หยั่งลง
คือเป็นปัจจัยแก่ทุกขเวทนา. พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงอย่างนี้.
ท่านกล่าวทุกขลักษณะไว้ในสูตรนี้.
จบอรรถกถาทุกขสูตรที่ 5

6. อภินันทนาสูตร



ว่าด้วยการชื่นชมยินดีในธาตุทั้ง 4



[412] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ผู้ใดย่อมชื่นชมปฐวีธาตุ. . .ผู้นั้นชื่อว่าย่อมชื่นชมทุกข์ผู้ใดย่อมชื่นชมทุกข์
เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่หลุดพ้นจากทุกข์ ผู้ใดย่อมชื่นชมอาโปธาตุ. . . ผู้ใด
ย่อมชื่นชมเตโชธาตุ. . .ผู้ใดย่อมชื่นชมวาโยธาตุ. . .ผู้นั้นชื่อว่าชื่นชมทุกข์
ผู้ใดชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่หลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.
[413] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดย่อมไม่ชื่นชมปฐวีธาตุ. . .ผู้นั้น

ชื่อว่าไม่ชื่นชมทุกข์ ผู้ใดไม่ชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นหลุดพ้นจากทุกข์
ผู้ใดไม่ชื่นชมอาโปธาตุ. . . ผู้ใดไม่ชื่นชมเตโชธาตุ. . . ผู้ใดไม่ชื่นชม
วาโยธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าไม่ชื่นชมทุกข์ ผู้ใดไม่ชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้น
หลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.
จบอภินันทนสูตรที่ 6

อรรถกถาอภินันทสูตรที่ 6 เป็นต้น



ท่านกล่าววิวัฏฏะไว้ในสูตรที่ 6 สูตรที่ 7.

7. อุปปาทสูตร



ว่าด้วยความเกิดและตั้งอยู่แห่งธาตุทั้ง 4



[414] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ความเกิด ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งปฐวีธาตุ. . .นั่นเป็น
ความเกิดแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชรามรณะ
ความเกิด ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งอาโปธาตุ. . . แห่ง
เตโชธาตุ. . . แห่งวาโยธาตุ นั่นเป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งโรค
เป็นความปรากฏแห่งชรามรณะ.
[415] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับ ความสงบ ความสูญ
สิ้นแห่งปฐวีธาตุ. . .นั่นเป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค
เป็นความสูญสิ้นแห่งชรามรณะ ความดับ ความสงบ ความสูญสิ้นแห่ง